Competitor Analysis
รู้เขา รู้เรา รบร้อยครั้ง ชนะร้อยครั้ง
หัวใจการทำธุรกิจในยุคการแข่งขันสูงปี๊ดดดดด...

What
อย่างแรกเรามารู้จักคำนี้กันก่อน “Competitor Analysis” หรือก็คือการวิเคราะห์คู่แข่งขัน บ้านใกล้เรือนเคียง ธุรกิจใกล้เคียงกับธุรกิจ ของท่าน การวิเคราะห์คู่แข่งขัน ในทางธุรกิจหมายถึง การรวบรวมข้อมูล เพื่อนำมาใช้ในกระบวนการวิเคราะห์คู่แข่งทางการตลาด เพื่อวางแผนและสร้างกลยุทธ์ทางธุรกิจ ทั้งคู่แข่งทางตรงและทางอ้อม โดยวิคราะห์ในมุมมองที่เราสนใจ เพื่อเปรียบเทียบกับสินค้าหรือบริการในบริษัทของเรา
Why
ทำไมต้องมีการวิเคราะห์คู่แข่งขัน ในทางธุรกิจสิ่งสำคัญอันดับต้นๆ ที่นึกถึงก็คือ ลูกค้า หลายคนอาจจะเคยได้ยินว่า “ลูกค้าคือพระเจ้า” ธุรกิจจะสามารถขับเคลื่อนต่อไปได้ก็เพราะได้รับการสนับสนุนจากลูกค้า แต่อีกสิ่งหนึ่งที่เราจะต้องให้ความสำคัญไม่แพ้กันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ คือ คู่แข่งทางการตลาด ในมุมของการวิเคราะห์ เรื่องของ การวิเคราะห์คู่แข่งขันเป็นหัวใจในการขับเคลื่อนธุรกิจของท่านในระยะยาวด้วย หากท่านวิเคราะห์ได้ดี ทำให้บริษัทฯ ของท่านโตอย่างก้าวกระโดด ลูกค้าที่รักของทุกคน จะรักใครมากกว่ากันก็อยู่ที่สินค้าหรือบริการของท่าน ดึงดูดใจ และสร้างความประทับใจได้มากน้อยเพียงใด
* เพราะคู่แข่งเป็นอีกปัจจัยที่สำคัญในการตัดสินใจเลือกใช้สินค้าหรือบริการของลูกค้า เราจึงต้องวิเคราะห์ หาข้อเปรียบเทียบว่าคู่แข่งมีจุดแข็งอะไรที่เราสามารถนำมาปรับปรุงในสินค้าหรือบริการของธุรกิจเราสามารถแข่งขันได้แล้วนำจุดอ่อนของเราไปแก้ไขและพัฒนาต่อยอดให้ดีกว่าคู่แข่ง จุดแข็งของเราคืออะไร ?
Purpose
จุดมุ่งหมายในการวิเคราะห์คู่แข่ง ช่วยลดต้นทุน ช่วยย่นระยะเวลาในการทำกำไร และก็เพื่อประเมินว่าบริษัทสามารถพัฒนาตนเองให้เข้มแข็งดำเนินต่อไปได้อย่างยั่งยืน โดยมีข้อได้เปรียบมากกว่าคู่แข่งอื่นๆ ทางการตลาด และมีความเข้าใจว่าคู่แข่งของเรามีจุดแข็งอะไรที่ทำได้ดี และมีจุดอ่อนอะไรที่เป็นข้อบกพร่องในการดำเนินธุรกิจ ตัดจุดด้อย คงไม่มีบริษัทใด ที่จะไม่มีจุดอ่อน พยายามัดจุดด้วย และพัฒนาสินค้าหรือบริการให้ดีและแตกต่างจากคู่แข่ง
Benefit
ปัจจุบันในตลาดมีการแข่งขันสูงมาก การที่เราสามารถทำความเข้าใจคู่แข่งก็จะทำให้เข้าใจสภาพแวดล้อม ทำให้ช่วยเพิ่มโอกาสการประสบความสำเร็จให้กับบริษัทมากขึ้น และรู้แนวทางปฎิบัติหรือคิดค้นสินค้าหรือบริการที่ดีกว่าคู่แข่ง รวมทั้งหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดที่คู่แข่งทำอีกด้วย ประโยชน์ที่ได้มีดังนี้
1.เข้าใจตลาด – การที่เราวิเคราะห์คู่แข่งได้ จะสามารถบอกแนวโน้มความต้องการของลูกค้า ความพึงพอใจ และอุตสาหกรรมที่เอาไปพัฒนาสินค้าและบริการของเราให้ตอบสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย นอกจากนี้ยังช่วยให้ตัดสินใจเกี่ยวกับการตลาด กลยุทธ์ และการกระจายสินค้าได้อย่างเชี่ยวชาญ
2.ปรับปรุงและพัฒนาสินค้าหรือบริการ – ทำให้สามารถระบุข้อควรปรับปรุงของบริษัทได้จากการวิเคราะห์สินค้าและบริการคู่แข่ง เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าและช่วยเติมเต็มช่องว่างทางการตลาดที่คู่แข่งยังไม่สามารถปฎิบัติได้
* ภายนอกและภายในของคู่แข่งด้วย
3.พัฒนากลยุทธ์ให้เหมาะสม – เมื่อเข้าใจจุดแข็งและจุดอ่อนจะทำให้สามารถวางตำแหน่งธุรกิจให้แตกต่างจากคู่แข่งได้ ช่วยให้สินค้าและบริการมีความโดดเด่นในตลาดและดึงดูดลูกค้าที่กำลังมองหาความแตกต่างความแปลกใหม่ไปเป็นตัวเลือกในการตัดสินใจ
4.ช่วยระบุโอกาส (มองหาโอกาสใหม่ๆ ให้กับธุรกิจของท่าน) – สามารถมองเห็นโอกาสใหม่ๆ ที่คู่แข่งยังมองไม่เห็น แล้วใช้ประโยชน์จากพื้นที่ตรงนี้มาสร้างความแตกต่างและความได้เปรียบให้กับธุรกิจของเรา

5 เทคนิค ตีโจทย์คู่แข่ง
How to
1.กำหนดคู่แข่ง - อันดับแรกที่เราจะวิเคราะห์คู่แข่งได้คือ การกำหนดคู่แข่ง โดยคู่แข่งแบ่งได้ 2 ประเภท
2.กำหนดมุมมองที่ใช้ศึกษาคู่แข่ง – แน่นอนว่าการวิเคราะห์คู่แข่งมีหลายปัจจัยที่ควรจะคำนึงถึง ไม่ว่าจะเป็นส่วนแบ่งทางการตลาดกลยุทธ์ที่นำมาใช้ ช่องทางที่ใช้เพื่อตอบสนองลูกค้าและการบริการหลังการขาย โดย list สิ่งที่ต้องการหรือสนใจจะศึกษาของคู่แข่งเพื่อดูว่ามีสิ่งใดบ้างที่เราควรให้ความสนใจและควรเอามุมมองไหนมาวิเคราะห์ก่อนเพื่อที่จะได้เป็นไปตามกระบวนการครบถ้วน
3.สำรวจตามมุมมองที่กำหนดไว้ – หลังจากที่เรากำหนดมุมมองที่ต้องการศึกษาแล้ว อาจใช้เครื่องมือบางอย่างที่ทำให้การสำรวจสะดวกขึ้น เช่น Mandala Analytics เป็นเครื่องมือประเภท Social Listening Analytics คือ เครื่องมือที่เอาไว้ใช้ดู Trend ที่เกิดขึ้นบนโลกออนไลน์ ที่ช่วยรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับคำค้นหาใกล้เคียงกับเรียลไทม์บนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียเพื่ออำนวยความสะดวกในการวิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างเหมาะสม โดยตัวช่วยนี้จะทำให้เราสำรวจข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ยกตัวอย่าง เราอาจจะใช้ฟีเจอร์ Insight Analytics ช่วยคัดกรองข้อมูลจากหลายๆ แหล่งให้เหลือเพียง 1,000 ข้อความ ได้คำที่ตรงจุดการข้อค้นหาหรือสนใจสินค้าหรือบริการ เพื่อช่วยให้สามารถวิเคราะห์ข้อมูลคู่แข่งได้โดยใช้เวลาเพียงไม่นานแต่ได้ข้อมูลที่มีประสิทธิภาพและมองข้อมูลคู่แข่งง่ายขึ้น
4.ใช้ SWOT Analysis – โดย SWOT Analysis คือเทคนิคการวิเคราะห์ทางการตลาดที่ประเมินสภาพแวดล้อมภายใน (องค์กรสามารถควบคุมหรือแก้ไขจุดอ่อนได้) และภายนอกบริษัท (องค์กรไม่สามารถควบคุมได้ เกิดขึ้นเองจากปัจจัยต่างๆ) ที่เราจะนำมาใช้วิเคราะห์คู่แข่ง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้กับบริษัทของเรา ปัจจุบัน SWOT ได้รับความนิยมจากทั่วโลก เนื่องจากสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้กับธุรกิจทุกประเภท ความหมายของแต่ละอักษร SWOT ความหมายของคำว่า SWOT ในยุคปัจจุบัน ในปี 2024
5.ระบุสิ่งที่ควรพัฒนา – หลังจากทราบข้อมูลคู่แข่งจากการใช้กลยุทธ์ SWOT Analysis เราก็จะนำข้อมูลเหล่านั้นมาระบุสิ่งที่ธุรกิจของเราต้องนำมาพัฒนาและปรับปรุง เพื่อทำให้ธุรกิจของเราก้าวขึ้นมาเหนือคู่แข่งทั้งทางตรงและทางอ้อม นอกจากนี้ยังสามารถปรับปรุง คุณภาพสินค้าหรือบริการโดยเพิ่มหรือแก้ไขคุณลักษณะ หรือปรับปรุงการบริการหลังการขายให้มีประสิทธิภาพ
6.พัฒนาให้โดดเด่น – เมื่อเราระบุสิ่งที่ควรพัฒนาแล้วก็ค่อยๆพัฒนา โดยเริ่มจาการวางแผนว่าจะพัฒนาในส่วนไหนเป็นอันดับแรก ส่วนไหนคือสิ่งที่ควรพัฒนามากที่สุด เรียงลำดับความสำคัญในสิ่งที่จะพัฒนา
Example
Brand – A + Brand – B + Brand – C มีการประกอบธุรกิจร้านค้าปลีกขายสินค้าและบริการที่คล้ายคลึงกันโดยมีทั้งอยู่ใกล้สถานที่ทำงาน

* จากตารางข้างต้นเมื่อลองเปรียบเทียบกันแล้วจะพบว่า Brand – C ตอบโจทย์มากที่สุด เนื่องจากกลุ่มเป้าหมายของร้านเป็นได้ทั้งวัยรุ่น แม่บ้าน และวัยทำงาน ทำให้สอดคล้องกับสถานที่ตั้ง Brand – C จึงตอบโจทย์มากกว่า อีกทั้งยังมี Influencer ที่สามารถเป็นสื่อกลางความเชื่อมั่น ความน่าเชื่อถือให้กับกลุ่มเป้าหมายได้อีก นอกจากนี้ยังมีช่องทางการขายที่หลากหลายไม่ว่าจะเป็น walk-in, Facebook, IG, ทำให้กลุ่มเป้าหมายสามารถเลือกใช้ช่องทางได้สะดวกสบายมากขึ้นและบริการของพนักงานพูดจาสุภาพ รวดเร็วและมีความแม่นยำอยู่ในเกณฑ์ดี คาดการณ์ว่าทำให้กลุ่มเป้าหมายเลือกที่จะใช้บริการของ Brand – C มากกว่า
ปรึกษาฟรี! สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมโทร. 081-533-7777 หรือ LINE ID : 0815337777 ได้ตลอด 24 ชม.