ระบบสะสมแต้มมีประโยชน์กับภาคธุรกิจอย่างไรในเชิงการตลาด
หากพูดถึงธุรกิจในทุกวันนี้ สามารถบอกได้เลยว่าแข่งกันในโลกปัจจุบัน ที่ใครเด่นกว่ากัน ใช้คำพูดโดนใจกว่ากัน ใครเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายหรือลูกค้าได้มากกว่า หรือใครตีตลาดสินค้าได้มากกว่ากัน มีช่องทางการจำหน่ายมากกว่า และหากมีระบบที่ดี สินค้าและบริการที่มีคุณภาพ ย่อมได้เปรียบกว่าคู่แข่ง และหากยังไม่มีกลยุทธ์ในการดึงสปอร์ตไลท์ให้ฉายมาที่ตัวเอง บทความนี้จะเป็นตัวช่วยที่ดีในการตัดสินใจเพิ่มกลยุทธ์เพื่อจับใจลูกค้าให้อยู่หมัดด้วย “ระบบสะสมแต้ม”
ระบบสะสมแต้ม คือ ระบบที่ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อสนับสนุนกิจกรรมทางการตลาดระยะยาว Long term marketing ช่วยทำให้ฐานรากของแบรนด์มั่นคง บางบริษัทถึงขั้นแบ่งงบการตลาดออกเป็นการทำการตลาดระยะสั้นเพื่อหวังยอดขาย และทำให้มีขวัญและกำลัง ไม่ท้อไปเสียก่อน และแบ่งมาทำการตลาดระยะยาวควบคู่ไปด้วย โดยใช้กลยุทธ์การสะสมแต้มจากการซื้อสินค้าในแต่ละครั้ง เพื่อให้ลูกค้าดึงดูดลูกค้าให้กลับมาซื้อซ้ำ และสร้างความจงรักภักดีต่อแบรนด์ เพราะการสะสมแต้มนั้นทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าได้อะไรบางอย่างกลับไปนอกจากการบริโภคสินค้า ก็เป็นอีกแนวทางในการทำการตลาดระยะยาวได้ด้วย (อ่านบทความเต็มคลิกที่นี่)
Enterprise Currency Marketing (ECM) คืออะไร
“ระบบสะสมแต้ม” เป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์ทางการตลาดแบบ Enterprise Currency Marketing โดยจากนี้เราจะเรียกแบบย่อว่า ECM หมายถึง การตลาดรูปแบบหนึ่งที่องค์กรภาคเอกชนออกสิ่งที่มีมูลค่าเทียบเท่าเงินหรือก็คือ Enterprise Currency เพื่อให้ลูกค้าหรือกลุ่มเป้าหมายสามารถทำกิจกรรมส่งเสริมการขายได้ ตัวอย่างเช่น คูปองแทนเงินสด, บัตรเติมเงิน, คูปอง เวาเชอร์ Voucher ที่คุ้มค้าที่สุดตลอดจนการสะสมแต้มที่สามารถนำมาแลกเป็นของรางวัลได้

ไม่ว่าจะเป็นระบบสะสมแต้ม CRM บน LINE OA หรือรูปแบบอื่น ๆ การตลาดแบบ Enterprise Currency Marketing ก็พิสูจน์ได้ถึงผลลัพธ์ในการสร้างฐานลูกค้าให้วนกลับมาซื้อซ้ำเพราะลูกค้ารู้สึกได้รับอะไรบางอย่างที่มากกว่าการบริโภค อีกทั้งยังเป็นหนึ่งในวิธีการเพิ่มยอดขายที่ทำให้ลูกค้าพึงพอใจได้อย่างไม่น่าเชื่อ เรามีอีกเหตุผล Support ว่าการออกแต้ม หรือคะแนน เป็นแรงจูงใจในการซื้อซ้ำได้มากที่สุด ยกตัวอย่าง มีสินค้าขนมบิสกิตสอดใส้ครีมรสชาเขียว นำ้หนัก 250 กรัม กล่องละ 25 บาท ในกล่องจะมีรหัสสะสมพอยต์ 10 คะแนน ต่อกล่อง เพื่อสะสมแต้มนำแต้มมาแลกของรางวัลลิมิเต็ด( Limited rewards) สามารถสะสมแต้มได้ยาวๆ ถึง 1 ปีเต็ม จะกินเมื่อไร สะสมเมื่อไรก็ได้ภายใน 1 ปีี มี 10 คะแนน ก็สามารถแลกสิทธิ์ลุ้นโชครางวัลใหญ่ได้ โดยไม่ต้องเก็บฝา หรือกล่อง มาแลกของรางวัล เพราะเรามีระบบเก็บข้อมูลการกรอกรหัสใต้ฝากล่องเรียบร้อยแล้ว วันดีคืนดีก็มีรับคะแนนพิเศษ รับแต้ม x3 ได้แต้มง่ายกว่าเดิมอีก ที่นี่คนหาซื้อสินค้าจากร้านสะดวกซื้อกันจาละหวั่น จนทำให้สินค้าขาดตลาดผลิตไม่ทัน เรายังมีกลเม็ดการทำการตลาดให้สินค้าคุณติดตลาดอีีกมากมายเอาไว้มาเล่าให้ฟังอีก
กดติดตาม Facebook ของทางเรา เพื่อติดตามสาระดีๆ จาก เก็ท พริวิลเลจ คลิก
เพราะลูกค้าประจำคือหัวใจสำคัญของการทำธุรกิจ
ธุรกิจไหนกิจการใดที่ไม่มีลูกค้าประจำแวะเวียนเข้ามาอยู่ซื้อซ้ำๆ ธุรกิจนั้นจะต้องเหนื่อยหาลูกค้าใหม่ตลอดเวลา การมีลูกค้าประจำที่กลับมาซื้อซ้ำ นั้นคือสิ่งที่จะทำให้ธุรกิจของเราเติบโตขึ้นอย่างมั่นคง เป็นหลักการณ์อย่างนึ่งของการทำการตลาดระยะยาว ซึ่งการที่ลูกค้ากลับมาซื้อซ้ำสามารถบอกเป็นนัยยะได้หลายแบบ ไม่ว่าจะเป็นความประทับใจที่มีต่อสินค้าและบริการ ความสะดวก ราคาที่เหมาะสมกับคุณภาพ ชอบการบริการของพนักงาน ฯลฯ ก็สามารถสร้างประสบการณ์ที่ดีในการซื้อสินค้าและบริการได้
ดังนั้นการใช้กลยุทธ์สะสมแต้มสามารถทำให้ลูกค้าแต่ละคนกลับมาซื้อซ้ำได้อีกหลายครั้ง เพราะนอกเหนือจากการซื้อเพื่อบริโภค หรือจำเป็นต้องซื้อ ลูกค้ารู้สึกได้รับผลประโยชน์บางอย่างกลับมาด้วย ซึ่งผลประโยชน์นั้นก็คือคะแนนหรือแต้มที่สามารถนำไปแลกบางอย่างที่มีมูลค่าเทียบเท่ากับเงินสดได้ ยิ่งเราสามารถสร้างลูกค้าประจำได้มาก ยิ่งมีโอกาสทำกำไรได้มากขึ้น
ประโยชน์ของการสะสมแต้มในมุมของธุรกิจ
การสะสมแต้มเป็นกลยุทธ์ที่องค์กรใช้เพื่อสร้างความพึงพอใจและสร้างความ Brand Loyalty และจากผลสำรวจความพึงพอใจของลูกค้าสินค้าและบริการในประเทศไทยในยุคปัจจุบันพบว่า ลูกค้าชอบการสะสมแต้มมากกว่าการให้ส่วนลด เพราะว่าเมื่อลูกค้าซื้อสินค้าที่ลดราคาแล้ว ลูกค้าไม่จำเป็นต้องกลับมาซื้อสินค้าของเราซ้ำอีกก็ได้ หรือนั้นลูกค้าบางรายอาจเปลี่ยนไปซื้อสินค้าของคู่แข่งเลยก็มี เพราะลูกค้าส่วนใหญ่มักจะพิจารณาการเลือกซื้อจากผลประโยชน์ที่จะได้รับสูงสุด โดยที่ไม่จำเป็นต้องมีความจงรักภักดีต่อแบรนด์(Brand Loyalty) ก็ได้ ฉะนั้นประโยชน์และจุดประสงค์หลักของการทำการตลาดรูปแบบสะสมแต้ม แลกของรางวัล แลกบัตรของขวัญ มีดังนี้
- 1. สร้างความกระตือรือร้นในการซื้อสินค้าหรือบริการ: การสะสมแต้มในรูปแบบนำแต้มมาแลกของรางวัลหรือโบนัสส่วนลดโดยไม่มีเงื่อนไขการใช้ที่ซับซ้อน
- 2. สร้างการตลาดระยะยาวอย่างมั่นคง Brand Loyalty: การแนะนำโปรแกรมในรูปแบบนำแต้มมาแลกของรางวัลหรือโบนัสส่วนลดโดยไม่มีเงื่อนไขการใช้ที่ซับซ้อน ลูกค้ามักต้องการรับประโยชน์จากการซื้อสินค้าหรือบริการขององค์กรในระยะยาว ๆ และการสะสมแต้มทำให้พวกเขาคิดถึงการซื้อสินค้าของคุณอีกครั้งและอาจแนะนำสินค้าของคุณให้กับคนอื่น
- 3. สร้างระบบจัดเก็บข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพจากการพฤติกรรมการซื้อสินค้าของลูกค้า: โปรแกรมสะสมแต้มที่ดีจะช่วยทำให้ท่านรู้จักลูกค้าที่มีค่าของคุณมากขึ้นและคุณสามารถใช้ข้อมูลนี้เพื่อปรับปรุงยุทธวิธีการตลาดและการสร้างกลยุทธ์การตลาดที่เหมาะสมในการเพิ่มยอดขายและสร้างความเชื่อถือให้ลูกค้าอย่างยั่งยืน
ตัวอย่างเช่น
แบรนด์ Class-A และ แบรนด์ Class-B ขายสินค้าเหมือนๆ กัน ราคาใกล้เคียงกัน หากมีแบรนด์ใดทำโปรโมชันลดราคาดีกว่า ลูกค้าก็จะแห่กันไปซื้อสินค้าที่แบรนด์นั้น เนื่องจากลูกค้ากลุ่มนี้ไม่ใช่ลูกค้าประจำ เป็นแค่ลูกค้าที่แวะเวียนมาเป็นครั้งคราวเพราะสนใจในส่วนลดจากราคาสินค้าเท่านั้น เพราะฉะนั้นลูกค้าเหล่านี้จึงไม่ต้องมีความจงรักภักดีต่อแบรนด์(Brand Loyalty)ก็ได้

ในทางกลับกัน หากแบรนด์ Class-A จัดทำระบบสะสมแต้ม ให้ลูกค้าได้แต้มสะสมจากการซื้อสินค้าหรือบริการในครั้งแรก ลูกค้าจะประทับใจที่แบรนด์ Class-A มากกว่า ด้วยแต้มสะสมที่ได้มาแล้ว ทำให้พอใจและมีโอกาสที่จะกลับมาซื้อสินค้าและบริการอีกในครั้งต่อไป เรียกว่า Customer Log-In Strategy เป็นการ log-in ลูกค้าและสร้างความภักดีที่มีต่อแบรนด์ (Brand Loyalty) นอกจากนี้ยังเป็นการเพิ่มความสัมพันธ์อันดีและสร้างประสบการณ์การซื้อที่ดีให้กับลูกค้าอีกด้วย หรือเรียกอีกอย่างว่าการปลดล็อกกำแพงกับแบรนด์ Class-A ได้ในทันที (Unlock Strategy)
คิดว่าผู้อ่านทุกท่านพอจะเห็นภาพ รวมถึงเข้าใจถึงความสำคัญและประโยชน์ที่จะได้รับจากการที่ธุรกิจของคุณมีระบบสะสมแต้มหรือสะสมคะแนนกันแล้ว หากมีความสนใจที่จะใช้กลยุทธ์นี้ในการทำกิจกรรมทางการตลาดเพื่อเพิ่มยอดขาย สามารถปรึกษากับเราได้ เพราะทางเรามีบริการรับวางแผน ออกแบบ และจัดทำ ระบบสะสมคะแนน สำหรับองค์กรธุรกิจ ทั้งแบบจัดทำภายในสำหรับพนักงาน และแบบจัดทำสำหรับลูกค้าของบริษัท
ปรึกษาฟรี! สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมโทร. 081-533-7777 หรือ LINE ID : 0815337777 ได้ตลอด 24 ชม.